วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

ภาษาม้ง

ภาษาม้งมีพยัญชนะ  2  ประเภท  คือ  พยัญชนะเดี่ยว กับ  พยัญชนะผสม 
            1. พยัญชนะเดี่ยว  มี  17  ตัวดังนี้ 
               

C          D         F          H         K          L          M         N         P          Q         R          

S          T          V          X          Y          Z                      

                 2. พยัญชนะผสม   คือ  การนำพยัญชนะ  2 ตัว หรือ 3  ตัว  หรือ 4 ตัว มาผสมกัน ทำให้ได้พยัญชนะตัวใหม่
            สาเหตุที่ต้องมีการผสมเพราะว่า  ภาษาม้งเกิดจากการนำตัวอักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาม้ง ตัวอักษรโรมันมีไม่เพียงพอแก่เสียงในภาษาม้ง
            ทำให้ต้องมีการนำพยัญชนะที่มีอยู่มาผสมกันเพื่อให้ได้เสียงพยัญชนะตัวใหม่
            เช่น  ph   เกิดจาก   p+h  ( ป+ฮ )    ถ้าเราพูดเร็ว ๆก็จะเป็น   ปอ + ฮอ = พอ  
ราก็จะได้เสียง พ
                   np   เกิดจาก   n+p   (น+ป )   ถ้าเราพูดเร็ว ๆ ก็จะเป็น   นอ + ปอ = บอ   
เราก็จะได้เสียง บ
            2.1 พยัญชนะผสม  2  ตัว    มีทั้งหมด  22  ตัว ดังนี้ 
               

CH       DH       HL       HM      HN       KH       ML      NC       NK       NP       

NQ       NR      NT       NY       PH       PL        QH       RH       TH       TS     

TX       XY         

                 
                2.2 พยัญชนะผสม  3  ตัว    มีทั้งหมด  14  ตัว   ดังนี้ 
               

HML    HNY    NCH    NKH    NPH    NPL     NQH    NRH    NTH    NTS   

NTX    PLH     TSH     TXH                                                                  


                 2.3 พยัญชนะผสม   4  ตัว  มีทั้งหมด  3 ตัว ดังนี้
               

NPLH              NTSH              NTXH


สระ

สระอา (a)    สระอี (i)    สระ เอ (e)   สระอื (w)   สระอู (u)   
สระออ (o) สระโอง (oo) สระอาง (aa)   สระเอง (ee) 
สระเออ (aw)  สระเอีย (ia)  สระเอา (au)  สระอัว ( ua) 
สระ ไอ (ai)

Image result for ภาษาม้ง



เครดิต: hmoob21.net

ภาษาม้ง